เขาวัง หรือ ชื่ออย่างเป็นทางการเรียกว่า อุทยานแห่งชาติพระนครคีรี ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 92 เมตร ในเขตอำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรี มีชื่อเดิมว่าเขาสมนหรือเขาคีรี เมื่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาเพชรนิสัยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี เป็นนายงานก่อสร้าง พระราชวัง สำหรับแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ แล้วเสร็จเมื่อปี 2403 และทรงพระราชทานนามว่า พระนครคีรี หรือที่ชาวเมืองเพชรบุรีเรียกติดปากกันว่า เขาวัง จนถึงปัจจุบัน
เขาวังประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมยุโรปตะวันตก แบบนีโอคลาสสิก ตั้งอยู่บนยอดเขาทั้ง 3 ยอด
ยอดเขาด้านทิศตะวันออก ตรงบริเวณไหล่เขาเป็นที่ตั้งของวัดสมณาราม เดิมชื่อวัดสมณะ เป็นวัดที่สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้ประทับเมื่อทรงผนวช ภายหลังจากพระนครคีรีสร้างเสร็จ ทรงรบสั่งให้บูรณะวัดและพระราชทานนามว่าวัดสมณาราม ภายในผนังทั้งสี่ด้านของอุโบสถมีภาพเขียนฝีมือขรัวอินโข่งจิตรกรไทยคนแรกที่ใช้เทคนิคการเขียนภาพแบบ perspective
เขายอดกลาง เป็นที่ตั้งของเจดีย์สีขาวสามารถมองเห็นได้แต่ไกล เป็นเจดีย์เกล่าที่ส่งรับสั่งให้บูรณะและพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร เป็นเจดีย์สูง 40 เมตร ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุ จากบริเวณนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของตัวเมืองเพชรบุรี และยอดเขาอีกสองลูกได้เป็นอย่างดี
ยอดเขาด้านทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของพระราชวังพระนครคีรี เป็นพระราชวังที่ประทับของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมศิลปากรใช้บางส่วนบนยอดเขาเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนครคีรี ภายในเป็นที่เก็บเครื่องราชูปโภคต่างๆ เช่นพระแท่นบรรทม กระจกเงาบานใหญ่ รวมถึงรูปหล่อทองเหลือง สำริด และเครื่องกระเบื้องต่างๆของพระองค์ท่าน เปิดให้ประชาชนไ้ดเข้าชมตั้งแต่ 9.00 – 16.00 น. ทุกวัน
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่ 08.30-16.30 น. ค่าเข้าชม (รวมค่าเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครคีรี) ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างประเทศ 40 บาท นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นชมเขาวังได้ โดยการเดินขึ้น หรือโดยสารรถรางไฟฟ้า (ตั๋วไป-กลับ รวมค่าเข้าชมทั้งหมด) เสียค่าบริการ ชาวไทย 40 บาท เด็ก 15 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 032-425600
การเดินทาง เดินทางด้วยรถยนต์จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี ปากท่อ ผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอปากท่อ เจอแยกเลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 4 เข้าจังหวัดเพชรบุรี หรืออีกเสันทางจากกรุงเทพฯใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัด นครปฐม ราชบุรี ไปยังเพชรบุรี
[wpgmza id=”249″]